(จั่วหัวแบบนี้เดี๋ยวก็โดนดีอีกหรอก ไม่เข็ดหรือ: ท่านผู้อ่านนึกแซว)
(หุหุ!?! ยาสมุนไพรเค้าก็เขียนสรรพคุณแนวนี้ทั้งนั้นแหละ มันเป็นเทคนิคการเชิญชวนในขั้นแรก และบรรยายสรรพคุณในขั้นต่อมา ใครจะว่ายังไง ก็ช่างหัวมัน หุ!!!หุ!!! (ช่างหัวมัน คำพ้องกับชื่อโครงการพระราชดำริ) ดังนั้นไม่ถือว่าเป็นคำหยาบซะทีเดียว :-) บ้าน(บล็อก) เราซะอย่าง ก็ต้องเขียนบรรเลงตามไสตล์ใครสไตล์มันส์...: ผู้เขียนอธิบาย)
(แล้ววงเล็บเนี่ยจะใส่ทำไมซะมากมาย:ผู้อ่านสงสัย)
(อยากรู้ก็ไปถามสาวยาคูลท์ดูซิครับ:ผู้เขียนตอบเหมือนคนลืมกินยา)
อย่ามัวเสียเวลากันอีกเลยครับ เราไปเข้าเรื่องกันดีกว่า
แปะตำปึง แก้ เบาหวาน ความดัน ภูมิแพ้ มะเร็ง
ชื่ออื่นๆ : แปะตำปึง หรือ จักรนารายณ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura
procumbens (Lour.) Merr.
ต้นกำเนิด :
ต้นยานี้มาจากประเทศจีน บางท่านเรียกว่า จินฉี่เหมาเยี่ย
เข้ามาในไทยพร้อมกับหญ้าปักกิ่งหรือหญ้าเทวดา แปะตำปึง
ถูกตั้งชื่อเป็นไทยว่าจักรนารายณ์ แต่มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น กิมกอยมอเช่า หรือ
ผักพันปี เป็นต้น
ลักษณะ : เป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นสีเขียว แตกกิ่งก้านอ่อน หักง่าย เมื่อโตเต็มที่ใน ฤดูหนาว จะออกดอกสีเหลืองมีก้านยาว แปะตำปึง มี 2 ชนิดคือ
1. ชนิดใบกลม (แปะตำปึง)ใบสีเขียวอ่อน
ใบหนาเพราะมีขนหนานุ่มแบบกำมะหยี่ทั้งด้านบนและล่าง
เส้นใบด้านบนลึกเช่นเดียวกับเส้นกลางใบแต่ด้านหลังใบกลับนูน กิ่งก้านออกเขียวปนแดง
เปราะหักง่าย
2. ชนิดใบยาว (จินฉี่เหมาเยี่ย) ใบค่อนข้างยาวกว่าแหลมกว่าและผิวใบค่อนข้างเรียบ เพราะขนน้อยกว่าแบบใบกลม
จับเทียบดูจะรู้สึกได้ชัด
การปลูก : ขยายพันธ์โดยการปักชำ ให้ตัดกิ่งที่มีท่อนยาว 10-15 ซ.ม. เด็ดใบออกให้หมดนำไปรับปะทาน นำกิ่งมาปักชำ ไว้ในที่รำไร และหมั่นรดน้ำเสมอๆ เช้า-เย็น ประมาณ 7-10 วัน ก็จะแตกยอด ออกราก เป็นต้นใหม่ เมื่อโตเต็มที่จะออกดอกสีเหลือง ส่วนเมล็ดเพาะไม่ขึ้น ต้องปักชำกิ่งเท่านั้น
แปะตำปึง ไม่ชอบร่มมากนัก ชอบดินร่วน ชอบแดดพอควร ชอบน้ำ แต่อย่าให้มีที่รองน้ำก้นกระถาง รากจะเน่า
สรรพคุณ : สรรพคุณของทั้งสองมีเหมือนกัน มีรสเย็น ใช้ใบเป็นยา รสชาติคล้ายใบชมพู่สาแหรก โรค(ที่มีผู้รับรองว่า)สมุนไพรชนิดนี้รักษาหายแล้วได้แก่ เบาหวาน ความดันสูงภูมิแพ้ หอบหืด มะเร็ง งูสวัด เกาต์ ริดสีดวงทวารหนัก ขับนิ่ว แผลสะเก็ดเงิน แผลอักเสบพุพอง ฝีหนอง ปวดประจำเดือน ปวดเส้น ปวดหลัง ไขมันในเลือด ไทรอยด์ ตาอักเสบตาเป็นต้อ โรคตาต่างๆ ปวดเหงือก ปวดฟัน โรคกระเพาะอาหาร โรคหัวใจ โลหิตจาง ฟอกเลือด ล้างสารพิษในร่างกาย ขับลม กินได้ นอนหลับ คนปกติทั่วไปกินแล้วสุขภาพแข็งแรง เรียกว่าเป็นสมุนไพรครอบจักรวาลเลยทีเดียว
วิธีใช้ : เป็นพืชสมุนไพรครอบจักรวาลที่ไม่มีพิษภัย ใช้ใบสดๆ ล้างให้สะอาด ซับน้ำให้แห้ง นำมาเคี้ยวกินสดๆหรือใช้ประกอบอาหารกิน เช่นแกงจืดหรือผัดน้ำมัน หรือเป็นเครื่องเคียงกับขนมจีน ส้มตำ สลัดผัก ฯลฯได้ หรือจะนำใบมาล้าง ผึ่งแห้ง นำมาบดหรือตำ คั้นเอาแต่น้ำนำไปนึ่งให้สุก ปล่อยให้เย็น ใส่ขวด ใส่ตู้เย็นเก็บไว้ได้นาน แต่ที่ได้ผลดีที่สุด คือกินใบสด ก่อนเข้านอน 3-5 ใบ
วิธีใช้เฉพาะโรค :
โรคเบาหวาน - กินใบสดๆ 2-5 ใบ ช่วงตี 5 -ถึง 7 โมงเช้าก่อนอาหาร เพราะลำไส้เริ่มทำงานจะได้ผลเร็ว และกินอีกครั้งหลังอาหารเย็น 2-3 ชั่วโมงหรือกินก่อนนอน กินเช่นนี้นาน 7 วัน หยุดดูอาการ 2-3 วัน จึงกินต่อเพื่อน้ำตาลในเลือดจะได้ไม่ลดเร็วเกินไป (ขอเสริมตรงนี้นิดนึงว่า ปริมาณการกินของแต่ละคนอาจไม่เท่ากันขึ้นกับขนาดของใบและน้ำหนักตัว จึงขอให้คนป่วย เบาหวานทดลองกินจำนวนใบน้อยๆ ก่อนแล้วคอยดูอาการ เพราะเคยมีคนบอกว่าบางคนกินแล้วน้ำตาลลดแบบฮวบฮาบ ซึ่งไม่รู้ว่ากินเยอะไปหรืออย่างไรและบางคนบอกว่าใบยาวลดน้ำตาลได้มากกว่าแบบใบกลมด้วย และพืชชนิดนี้ยังไม่มีผลการวิจัยรองรับเป็นทางการ จึงควรใช้ด้วยการระมัดระวังไว้ก่อนล่ะดี)
โรคตา – นำใบสด ๆ มาล้างให้สะอาด บด-โขลกในครกสะอาดๆ ให้แหลก แล้วนำมาพอกตาข้างที่อักเสบหรือมัว นาน 30 นาที ก่อนจะล้างออกด้วยน้ำ พอกเช้า-เย็น ตาจะดีขึ้นเร็ว
มะเร็งและความดันสูง-ต่ำ - ให้กินเป็นผัก เช่น จิ้มน้ำพริก ทุกวัน ถ้าเป็นมะเร็งกินก่อนนอน 5-7 ใบ ก่อนนอน ประมาณ 6 เดือน มะเร็งจะลดขนาดลง
งูสวัด - นำใบมาตำกับน้ำตาลทรายแดง เพื่อให้จับตัวเป็นก้อน ไม่หลุดง่าย พอกตรงรอยแผลไว้30 นาที หรือใช้น้ำคั้นทาก็ได้
ริดสีดวงทวารหนัก - ตำใบสดแล้วใส่ในทวาร จะทำให้หายเร็ว ติ่งที่โผล่จะยุบ เลือดที่ออกจะหยุด
โรคกระเพาะ - ถ้าปวดท้องและเป็นโรคกระเพาะ ให้กินเดี๋ยวนั้น สักพักอาการปวดจะหายไปยังช่วยขับลมที่แน่นในท้องออกมาได้ด้วย
สิ่งที่ควรระวัง- อาหารแสลง เช่น กุ้ง เนื้อ ปลาหมึก ปู ปลาทู ปลาร้า หูฉลาม กะปิ ข้าวเหนียวหน่อไม้ แตงกวา หัวผักกาด เผือก สาเก ของดอง แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ควรงด แต่หากจำเป็นต้องกิน ขอให้กินแปะตำปึง ก่อนหรือหลัง 2 ชั่วโมง
การปลูกใช้เอง ไม่ควรใช้ยาฆ่าแมลง หรือถ้ามีการใช้ปุ๋ย ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 1 อาทิตย์ก่อนเก็บใบมาใช้ และควรล้างให้สะอาดๆก่อนนำมาใช้ (โดยเฉพาะการพอกตา)
ข้อมูลจาก นสพ.เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 28
มกราคม 2548
แปะตำปึงที่ผมซื้อมาปลูกไว้ เดือนกว่า ๆ ครับ
น่าจะเรียกว่า จินฉี่เหมาเยี่ยมากกว่า เพราะใบยาว
แต่เห็นส่วนมากก็เรียกรวม ๆ กันว่าแปะตำปึง เหมือนกันหมด
น่าจะเรียกว่า จินฉี่เหมาเยี่ยมากกว่า เพราะใบยาว
แต่เห็นส่วนมากก็เรียกรวม ๆ กันว่าแปะตำปึง เหมือนกันหมด
แหล่งอ้างอิง:
5 ความคิดเห็น:
ขอบคุณข้อมูลสมุนไพรดีๆค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณมากๆ
อยากได้ด่วนค่ะทำไง0882727782
ขายใบสดแปะตำปึง (ผักพันปี, จักรนารายณ์) ใบสดฮว่านง็อก( พญาวานร) ใบสดหญ้าปักกิ่ง. สอบถามที่ 0944502041
แสดงความคิดเห็น
Image - [im]Image URL Here[/im]
Colors - [co="red"]Comment Text Here[/co] - Change Red To The Color You Want.
Marquee - [ma]Comment Text[/ma]
Get This - Blogger Comment Script