วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กะเม็ง ลักษณะ สรรพคุณ และการขยายพันธ์


ภาพดอกกะเม็ง จากคุณ tarapiw เว็บพันทิป

สมุนไพรปราบมะเร็งตัวที่หนึ่ง กะเม็ง
          ชื่อไทย กะเม็ง หรือ กะเม็งตัวเมีย มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ ขึ้นกับแต่ละท้องถิ่น เช่น ทางภาคเหนือ เรียกว่า ฮ่อมเกี้ยว ทางพายับ เรียก หญ้าสับ จีน เรียก บั้งกีเช้า ทางภาคกลาง เรียก กะเม็งตัวเมีย

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Eclipta prostrata Linn. ในวงศ์ Compositae ซึ่งเป็นพืชในวงศ์เดียวกับ ทานตะวัน และดาวเรือง

ลักษณะทั่วไป

    ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 4-32 นิ้ว ลักษณะลำต้นมีขนหรือบางต้นก็ค่อนข้างเกลี้ยง ลำต้นมีกิ่งก้านแตก ที่โคนต้น
    ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปหอก ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบ ริมขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ผิวเนื้อใบเกลี้ยง ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5-2.5 ซม. ยาวประมาณ 3-10 ซม. ก้านใบไม่มี ถ้าเกิดในที่ชุ่มชื้น มีน้ำมากใบก็ใหญ่ เกิดในที่แห้งแล้ง ใบจะเล็ก
    ดอก : ดอกออกเป็นกระจุก ลักษณะของดอกมีกลีบดอกสีขาว ดอกวงในโคนดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อยาวประมาณ 2 มม. ส่วนปลายจะหยักเป็น 4 แฉก ดอกในวงนอกเป็นรูปรางน้ำ ยาวประมาณ 2.5 มม. ปลายดอกหยักเป็น 2 แฉก ก้านดอกเรียวยาว ยาวประมาณ 2-4.5 ซม.
    ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปลูกข่าง เมื่อแก่จัดจะมีสีดำ เมื่อขยี้ดูจะมีน้ำสีดำออกมา ปลายมีระยางค์เป็นเกล็ดยาวประมาณ 2.5 มม. ขนาดของผลกว้างประมาณ 1.5 มม. ยาวประมาณ 3-3.5 มม.
(อ่านแล้วเวียนหัวชอบกล ดูที่รูปดีกว่าครับ)



เมล็ดกะเม็ง สีน้ำตาลเข้มเกือบดำตามรูป แสดงว่าแก่พอที่จะนำไปเพาะได้แล้ว วิธีทดสอบ
ลองเอามือบีบที่ฝักเบา ๆ ถ้าเมล็ดแก่จะร่วงออกได้ง่าย (อย่าลืมเอามืออีกข้างรองด้วยล่ะ)


ภาพขยายดอกกะเม็ง ด้วยเลนส์มาโคร (รู้สึกว่าสีจะอ่อนเกินความจริงไปนิดนึง )





การขยายพันธุ์ : กะเม็งเป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นในที่โล่งแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้น ค่อนข้างมาก มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

อัตราการงอกของเมล็ดกะเม็ง
ในชวงหลังสุกแกเมล็ดจะไมงอกทันที  จะมีการพักตัวในระยะแรก แล้วจะทยอยกันงอก เมื่อมีระยะการเก็บรักษามากขึ้น  อัตราการงอกจะสัมพันธ์กับวันที่เก็บ โดยดูได้จากตาราง

หลังจากเก็บเกี่ยว (วัน)
อัตราการงอกของเมล็ด %
0
16
10
16
20
28
30
54
60
71
90
51
ตารางความสัมพันธ์ ระหว่างวันที่เก็บรักษาเมล็ดกับอัตราการงอก

วงจรชีวิตของกะเม็ง

มีชวงเวลาในการงอก
10 วัน
ชวงการเจริญเติบโตไมอาศัยเพศ
12 วัน
ชวงระยะออกดอกจนกระทั่งดอกบานใช้เวลา
14 วัน
และชวงการติดเมล็ด จนกระทั่งต้นตาย
68 วัน
รวมระยะเวลาตลอดวงชีวิตโดยเฉลี่ย
114 วัน
กะเม็งผลิตเมล็ดโดยเฉลี่ย 15,312 เมล็ด/ตน เมล็ด



ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ ดอก ราก

สรรพคุณและการนำมาใช้รักษาโรคต่าง ๆ
กะเม็งมีรสเปรี้ยว ชุ่มเย็น ส่วนวิธีและปริมาณที่ใช้ ของกะเม็งนั้น จะใช้ทั้งต้นแห้ง 10-30 กรัม ต้มเอาน้ำกิน หรือจะนำมาบดเป็นผง ทำเป็นยาเม็ดลูกกลอน หรือกินเป็นผงก็ได้ (ส่วนผมชอบบดเป็นผงชงกับน้ำร้อนแล้วผสมกับน้ำผึ้งอีกทีหนึ่ง)

1. รักษาแผล
          - หมอยาทุกภาคต่างรู้ดีว่ากะเม็งเป็นสมุนไพรทำแผล ช่วยห้ามเลือดและป้องกันการติดเชื้อ มีเรื่องเล่าจากประสบการณ์ว่า สมัยสงครามเวียดนาม กะเม็งเป็นยาคู่สนามรบมีการนำมาใช้ทั้งสดและแห้งเพื่อห้ามเลือด นอกจากนำมาใช้รักษาแผลให้คนแล้ว กะเม็งยังเป็นยารักษาแผลในสุนัขตัวโปรดได้ด้วย
          - กะเม็งยังใช้ตำพอกแก้อักเสบเมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อย
- ใช้ต้มอมบ้วนปากรักษาอาการปากและเหงือกเป็นแผล
- แก้ปวดฟัน โดยใช้ต้นสดผิงไฟให้แห้งแล้วบดเป็นผงทาที่เหงือกแก้ปวดฟันก็ได้ และ--- รักษาอาการปากเปื่อย-ปากเจ็บเนื่องจากเชื้อราในเด็ก โดยใช้น้ำคั้นจากใบ ๒ หยดผสมน้ำผึ้ง ๘ หยด ทาบ่อยๆ
- รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก อาการฟกช้ำ อาการแพ้ได้อย่างดี โดยบดตำเอามาพอกที่บาดแผล ลดอาการอักเสบ ปวดแสบปวดร้อน อาการอักเสบจะดีขึ้น ให้พอกไปเรื่อยๆ และคอยเปลี่ยนยาบ่อย ๆ

2. แก้บิดถ่ายเป็นมูกเลือด ใช้ต้นแห้ง 30 กรัม หรือ ต้นสด 120 กรัม ต้มน้ำกินติดต่อกัน 3-4 วัน
3. แก้โรคผิวหนังผื่นคันจากการทำนา 
          กะเม็งยังช่วยรักษาอาการน้ำกัดเท้า ชาวนาสมัยก่อนจะนำใบกะเม็งขยี้ทาเท้าทิ้งไว้ให้แห้งก่อนลงนา การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่ากะเม็งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อทั้งราและแบคทีเรีย และเป็นสมุนไพรที่ขึ้นได้ดีในหน้าน้ำ เป็นเรื่องน่าแปลกเพราะดูเหมือนว่า ธรรมชาติจะได้ประทานสมุนไพรชนิดนี้มาให้กับชาวนาใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้า ในหน้าลงนาได้พอดิบพอดี แต่ถ้ามือและเท้าเปื่อย จากการทำนาแล้ว ก็สามารถใช้น้ำคั้นจากใบทารักษาได้ โดยทาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย

4. แก้ผมหงอกก่อนวัย ใช้น้ำคั้นจากต้นเคี่ยวกับน้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าวทา ศีรษะจะทำให้ผมดกดำ และแก้ผมหงอกก่อนวัย
5. เบาหวาน นอกจากเป็นยาอายุวัฒนะแล้ว หมอยาพื้นบ้านยังบอกว่ากะเม็งเหมาะที่จะทำเป็นชาสมุนไพรสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ดียิ่งนัก
5. รักษาตับ
          กะเม็งเป็นสมุนไพรที่มีการกล่าวขวัญถึงในหมู่หมอยาสมัยก่อนทั้ง ไทย จีน พม่า อินเดีย โดยใช้เป็นยารักษาตับ หมอยาไทยมักจะบอกว่ากะเม็งรักษาอาการดีซ่านตัวเหลืองตาเหลือง เคยมีหมอพม่าและหมออินเดียมาดูงานที่โรงพยาบาลต่างพูดตรงกันว่า กะเม็งเป็นสมุนไพรที่บ้านเขาใช้รักษาตับ มีทั้งใช้กะเม็งเดี่ยวๆ หรือบางครั้งก็ใช้เป็นตำรับร่วมกับต้นลูกใต้ใบ ผักหวานบ้าน มะขามป้อม เป็นต้น สอดคล้องกับการค้นคว้าทางเอกสาร พบว่าหมอยาพื้นบ้านในประเทศต่างๆ ก็มีการใช้กะเม็งรักษาโรคตับเช่นกัน
6. แก้อักเสบ บวมน้ำ
          นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์จากทางบ้านคือ ใช้ต้นกะเม็งสดๆ ๓-๔ ต้น ล้างให้สะอาดนำไปต้มให้เดือดประมาณ ๑๐ นาที แล้วดื่มน้ำโดยผสมน้ำตาลทรายลงไปผสมพอมีรสหวาน ดื่มกินไม่เกิน ๒ วัน ช่วยแก้อักเสบ บวมช้ำ (พระจีรพันธ์ ธัมมกาโม วัดพบพระใต้ จ.ตาก)
7. โรคไต
          ถ้าเป็นไม่นาน ให้นำต้น กะเม็ง ทั้งสองชนิด คือ กะเม็งตัวผู้ กับ กะเม็งตัวเมีย โดยให้เอาทั้งต้นแบบชนิดแห้งชนิดใดช
นิดหนึ่ง จำนวน 1 กำมือ ต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น หรือต้มดื่มน้ำทั้งวันก็ได้ จะช่วยล้างพิษหรือสารตกค้างจากไตจนหมด ทำให้ไตสมบูรณ์ขึ้น ร่างกายก็แข็งแรงตามไปด้วย ไม่มีอาการปวดเมื่อย ผิวกายไม่ตกกระ และยังช่วยชะลอความแก่ เพราะไตดีขึ้นนั่นเอง ผิวพรรณสดใสอีกด้วย
8. แก้มะเร็ง ใช้ได้ดีมากกับผู้ป่วยมะเร็งตับ
9. รักษาอาการแผลเรื้อรังเน่าลุกลามรักษายาก เช่นแผลจากเบาหวาน แผลจากมะเร็ง
10. แก้หืด
11. แก้หลอดลมอักเสบ
12. แก้จุกเสียด
13. รักษาแผลในกระเพาะ ลำไส้ 
14. แก้กลากเกลื้อน
15  รักษาอาการชักเกร็ง มือเกร็ง  ที่เกิดจากอาการทางประสาท ทำให้เป็นลมวิงเวียน ชักเกร็ง มือเกร็ง ซึ่งอาการเช่นนี้คล้ายๆ กับโรค Hyperventilation ในแผนปัจจุบัน วิธีใช้นั้นจะใช้กะเม็งเป็นตัวหลักตำคั้นน้ำผสมกับสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมตัวอื่นๆ เช่น ขิง ว่านเปราะหอม เป็นต้น แล้วใช้น้ำคั้นที่ได้ให้ผู้ป่วยจิบ และใช้ผ้าชุบน้ำผสมน้ำคั้นสมุนไพรเหล่านั้นเช็ดหน้า คลุมหัวผู้ป่วยไว้
16. เป็นยาอายุวัฒนะ


การเก็บกะเม็ง จะเก็บมาใช้ทั้งต้นในขณะที่ต้นเจริญเต็มที่ กำลังออกดอก เมื่อเก็บมาแล้ว ควรล้างดินออกให้สะอาด หั่นเป็นท่อนหรือชิ้นเล็ก ๆ ตากหรือผึ่งให้แห้ง เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น เพื่อใช้เป็นยา ลักษณะของยาแห้งที่ดี ควรมีสีเขียว ไม่มีเชื้อรา และสิ่งอื่นเจือปน


สรรพคุณจากการวิจัย 
1.  กะเม็ง สามารถแก้ความเป็นพิษที่ตับ ที่เกิดจากการทำให้เซลล์ตับเป็นพิษ ด้วยสารพิษบางชนิดได้ผลดี มีรายงานว่า กะเม็ง มีฤทธิ์แก้ไข้ และแก้แพ้ในหนูถีบจักร และหนูขาวอีกด้วย ดังนั้น จึงเป็นข้อมูลที่ยืนยันได้ว่า กะเม็ง สามารถนำมาใช้ในการรักษาตับอักเสบ และโรคผิวหนังผื่นคันได้เป็นอย่างดี
2.การศึกษาวิจัยสมัยใหม่เกี่ยวกับกะเม็ง พบว่ามีฤทธิ์คลายเครียด ช่วยทำให้นอนหลับ โดยกะเม็งไปมีฤทธิ์เพิ่มระดับ Melatonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่หลั่งออกมาตอนกลางคืน ซึ่งสารนี้จะช่วยปรับสภาพร่างกายให้เหมาะแก่การนอนหลับ
3. ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมากถึงผลของกะเม็งต่อตับ คือกะเม็งสามารถป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษรวมทั้งจากแอลกอฮอล์ ป้องกันไม่ให้เซลล์ตับถูกทำลายจากไวรัส แถมยังช่วยในการฟื้นตัวของตับที่ถูกทำลายได้อีกด้วย
4. จากการศึกษาสมัยใหม่พบว่ากะเม็งมีฤทธิ์เพิ่ม T-lymphocyte และมีการศึกษาตำรับยาจีนชนิดหนึ่งเรียกว่า AFE ซึ่งมีกะเม็งเป็นส่วนประกอบ พบว่าสูตรยาดังกล่าวสามารถเพิ่มระดับ lymphocyte และ IgG ซึ่งเป็นสารสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้กะเม็งยังทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดงแข็งแรงขึ้น ซึ่งยืนยันการใช้เป็นยาอายุวัฒนะของคนสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี และอาจมีประโยชน์ต่อการใช้เป็นยาเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยเอดส์ นอกจากนี้แล้วยังพบว่า กะเม็งลดการกดภูมิคุ้มกันซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ใรักษาความเป็นปกติ ของร่างกายขณะได้รับเคมีบำบัด

สรุป

กะเม็ง เป็นพืชล้มลุก พบขึ้นตามที่รกร้าง และที่ชื้นแฉะทั่วไป กะเม็งเป็นยาสมุนไพรที่ใช้กันมานาน มีประโยชน์ทางยามากมาย สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับแผลแทบทุกชนิด รวมไปถึง แผลเรื้อรังที่รักษายาก เช่นแผลจากเบาหวานแผลจากโรคมะเร็ง รวมไปถึงแผลฝีหนอง และยังช่วยรักษาโรคตับอักเสบ โรคปอด(หลอดลมอักเสบ) โรคไต โรคผิวหนังผื่นคันจากการทำนา และรักษาผมหงอกก่อนวัย ทำให้ผมดกดำ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ มล.เนื่อง นิลรัตน์ ได้เขียนบทความ "ยาเถื่อน" บรรยายสรรพคุณของกะเม็งโดยมีตัวอย่างการใช้รักษาโรคกับคนให้เห็นภาพอย่างชัดเจน จนเป็นที่โ่ด่งดัง ซึ่งสมัยนี้หมอปัจจุบันหลายท่านก็หันมานิยมกะเม็ง มาใช้รักษาคนไข้แทนยาแผนปัจจุบันเหมือนกัน


เว็บอ้างอิง
http://thailand-an-field.blogspot.com/2010/03/blog-post_6001.html
http://thrai.sci.ku.ac.th/node/936
http://allknowledges.tripod.com/kameng.html
http://www.samunpri.com/?p=1735
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search_detail&medicinal_id=290
http://www.doctor.or.th/article/detail/5365

5 ความคิดเห็น:

ขอบคุณมากๆ ค่ะ

ขอบคุณมากๆ ค่ะ

แถวบ้านผมมีต้นกะเม็ง ใครอยากได้ t.0875184198

การรักษาแผลมะเร็งต้องตำ กะเม็ง ให้ละเอียดแล้วพอกที่แผลเลยไช่มั๊ยคับ

แสดงความคิดเห็น

Best Blogger TipsComment Options - You Can Add Images, Colored Text And Marquee Text To Your Comment.

Image - [im]Image URL Here[/im]
Colors - [co="red"]Comment Text Here[/co] - Change Red To The Color You Want.
Marquee - [ma]Comment Text[/ma]
Get This - Blogger Comment Script

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Best Blogger TipsBest Blogger Tips